นักวิจัยสวิสพัฒนาหุ่นยนต์ปลาเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอใต้ทะเล

หุ่นยนต์ปลาขนาดเกือบ 1 เมตร และหนักเกือบ 10 กิโลกรัมตัวนี้ มีชื่อว่า แบล (Belle) ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักวิจัยทางทะเลเก็บข้อมูลในสภาพแวดล้อมจริง โดยสร้างผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อช่วยคุ้มครอง และสังเกตสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ “แบล” มีหางที่นิ่มและพลิ้วไหว ซึ่งไม่สร้างคลื่นน้ำที่ปั่นป่วน ทำให้มันว่ายไปกับปลาอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมใต้น้ำต่างๆ ได้อย่างกลมกลืน แขนหุ่นยนต์สวมใส่-ถอดเปลี่ยนได้ ฉายภาพมนุษย์จักรกลหลายแขน

นักวิจัยสิงคโปร์พัฒนาแผ่นแปะเช็กสุขภาพแผลอัจฉริยะ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ลึกสุดที่เคยถ่ายและจับได้! ยลโฉมปลาใต้ทะเลลึก 8,300 เมตร

ลีออน กุกเกนไฮม์ นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริค ระบุว่า พวกเขาอยากจะเก็บข้อมูลระบบนิเวศตามสภาพตามที่เป็นจริง ดังนั้น อุปกรณ์จะต้องเงียบ มีรูปร่างหน้าตาและเคลื่อนไหวเหมือนปลา สภาพพื้นที่เหล่านั้นอ่อนไหวต่อระบบใบพัดมากๆ ซึ่งจะทำลายปะการัง และทำให้สัตว์ทะเลกลัวและหนีไป “แบล” ใช้ AI ควบคุมตำแหน่งและทิศทางในการว่ายโดยอัตโนมัติ รวมมีตัวกรองจับดีเอ็นเอจากสิ่งแวดล้อม (eDNA) และกล้องวิดีโอความละเอียดสูง ทีมนักวิจัยหวังว่า หุ่นยนต์ของพวกเขาจะช่วยนักชีววิทยาทางทะเลศึกษาสุขภาพและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศปะการังหลายๆ แห่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงเกินขนาด มลภาวะ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทีมนักวิจัยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ปลานี้ให้ทำงานด้วยตัวเองได้นานสูงสุด 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะตัวกรองดีเอ็นเอจะหมด และต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่

ภาพ: Reuters /ETH ZURICH

 นักวิจัยสวิสพัฒนาหุ่นยนต์ปลาเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอใต้ทะเล