ถอดบทเรียน ‘แอชตัน อโศก’ หวั่นฉุดเชื่อมั่นราชการไทย

จากกรณีแอชตันอโศกคอนโดหรูของอนันดาดีเวลลอปเม้นท์ทำเอาสะเทือนวงการอสังหาฯไปไม่น้อยเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างหลังจากเกิดข้อพิพาทกับชาวบ้านซ.สุขุมวิท19แยก2และทางสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนที่เรื้อรังมานานจนกระทั้งมีการฟ้องและเกิดเป็นคดีความขึ้นมาตั้งแต่ก่อนก่อสร้างเมื่อปี57จนถึงปี59แต่บริษัทยังคงดิ้นรนจนสามารถก่อสร้างและเปิดขายจนสำเร็จด้วยการขอใบอนุญาตถึง9ฉบับและได้รับอนุมัติจาก8หน่วยงานราชการ

โครงการแอชตันอโศกเป็นคอนโดมิเนียมสูง51ชั้นสไตล์โมเดิร์นรูปทรงแปลกตาเรียบหรูที่ร่วมทุนกับมิตซุยฟูโดซังญี่ปุ่นตั้งอยู่บนแยกอโศกมนตรีด้วยมูลค่าโครงการรวม6,481ล้านบาทรวม783ยูนิตก่อสร้างแล้วเสร็จเริ่มโอนกรรมสิทธิ์มาตั้งแต่เดือนมิ.ย.61โดยขายไปแล้ว668ยูนิตมูลค่า5,639ล้านบาทหรือ87%ปัจจุบันมีผู้พักอาศัย 580ครอบครัวเป็นคนไทย438รายและต่างชาติ140รายจาก20ประเทศยังมียูนิตเหลือขายอีก117ยูนิตหรือ13%มูลค่า828ล้านบาท

รอกทม.แจง3..นี้

อย่างไรก็ตามปัญหาของโครงการนี้จะมีการชี้แจงอย่างเป็นทางการชัดอีกครั้งจากทางกทม.ในวันที่3ส.ค.นี้แต่เบื้องต้นสำนักการโยธาเตรียมออกหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตที่ตั้งของโครงการเพื่อออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารขณะเดียวกันแม้มีคำพิพากษาการเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างแต่ไม่ได้หมายความว่าอาคารชุดแอชตันอโศกจะต้องรื้อถอนอาคารแต่บริษัทผู้เป็นเจ้าของโครงการสามารถยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างใหม่ได้ที่สำนักการโยธาข้อสำคัญบริษัทต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งศาลคือ…เรื่องของการเพิ่มทางเข้า-ออกโครงการให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารฯและกฎหมายผังเมืองหากปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางเข้า-ออกแล้วเสร็จก็สามารถยื่นขอใบแจ้งก่อสร้างได้แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องดำเนินการตามมาตรา42ที่ต้องรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า30วัน

ผิดกฎหมายควบคุมอาคาร

สาเหตุที่กลายเป็นคดีความช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากการอนุญาตให้ก่อสร้างคอนโดฯนี้อาจขัดต่อพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร2522เนื่องจากที่ดินโครงการไม่มีด้านใดด้านหนึ่งที่เป็นทางเข้าออกกว้างไม่น้อยกว่า12เมตรติดถนนสาธารณะเพราะที่ดินของแอชตันอโศกเจ้าของเดิมถูกเวนคืนสร้างรถไฟฟ้าทำให้จากเดิมสามารถสร้างตึกสูงได้เพราะติดถนนอโศกแต่เมื่อถูกเวนคืนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือรฟม.สร้างสถานีรถไฟฟ้าปิดอยู่ด้านหน้าจึงมีถนนเป็นทางออกถนนอโศกมีความกว้างไม่ถึง12เมตรตามกฎหมายตามข้อบังคับสร้างอาคารสูงอีกทั้งพื้นที่ของโครงการไม่ได้ติดกับทางสาธารณะ

แต่เมื่อท้ายที่สุดศาลตัดสินให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างจึงกลายเป็นที่สงสัยของใครหลายๆคนว่าที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐยอมไฟเขียวปล่อยผ่านให้มีการก่อสร้างมาได้อย่างไร??

ในด้านของนักพัฒนาเองต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจริงๆแล้วเรื่องข้อกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การสร้างโครงการต่างๆเป็นพื้นฐานที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกคนต้องรู้อยู่แล้วและที่สำคัญในแต่ละบริษัทยังมีหน่วยงานด้านผังเมืองนักวิศวะกรผู้เชี่ยวชาญในการสำรวจพื้นที่ก่อสร้างคอยตรวจสอบอยู่กรณีนี้…จึงถือเป็นกรณีตัวอย่างที่สำคัญ!!ให้กับบรรดาผู้ประกอบการนักพัฒนาอสังหาฯหลังจากนี้ตระหนักถึงกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการสร้างมากขึ้น

จับตา100โครงการกระเทือน

นักพัฒนาอสังหาฯหลายคนพูดตรงกันว่าหากรู้ว่าผิดหลักเกณฑ์ก็ไม่ควรจะดันทุรังแม้จะใช้วิธีการหลบหลีกข้อบังคับต่างๆเพื่อให้ได้เอกสารจากทางราชการมาการันตีให้กับลูกบ้านหรือนักลงทุนอย่างถูกต้องแต่ด้วยแรงกระเพื่อมของพลังโซเชียลมีเดียสมัยนี้หากมีอะไรที่ผิดกฎหมายผิดหลักเกณฑ์ข่าวสาร!!ก็แพร่สะพัดไปไว!!จนท้ายที่สุด…เมื่อเรื่องแดงออกมาก็ขุดคุ้ยกันไม่จบไม่สิ้นผลที่ตามมา…บรรดาลูกบ้านต่างใจหายใจคว่ำซื้อไปแล้วจ่ายเงินไปแล้วจะไปอยู่ที่ไหนจะเรียกเงินคืนเรียกค่าเสียโอกาสได้อย่างไร?ขณะที่บรรดาต่างชาติก็เริ่มไม่เชื่อมั่นไม่เพียงเท่านี้ภาพรวมบริษัทก็เกิดปัญหาทั้งความน่าเชื่อถือรวมไปถึงมูลค่าหุ้นของบริษัท

ที่สำคัญ…ยังร้อนไปถึงโครงการของค่ายอื่นที่เป็นโครงการตึกสูงลักษณะนี้และขอใช้พื้นที่รฟม.คล้ายกับแอชตันอโศกอีกประมาณ13โครงการขณะที่มีอีกนับ100โครงการที่ขอเชื่อมทางกับพื้นที่รัฐอย่างโนเบิลดีลเวลลอปเมนท์ที่มีเอกสารชี้แจงออกมาในช่วงก่อนหน้านี้รวมไปถึงวิซดอมพินนาเคิลคอร์ปอเรชั่นและลัคกี้ลิฟวิ่งพร็อพเพอร์ตี้ด้วย

ราชการเชื่อถือได้แค่ไหน

เรื่องนี้ศิรประภารักษ์สุจริตผู้บริหารริษัทเวลทิเนสเอสเตทจำกัดตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของเพจอสังหาเรื่องจิ๊บๆบอกว่าเรื่องนี้…ทำให้ความเชื่อมั่นในการซื้ออสังหาฯของผู้บริโภคลดลงเพราะการเลือกซื้ออสังหาฯแต่ละครั้งส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเลือกจากแบรนด์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงก่อนเป็นอันดับแรกและก่อนซื้อเจ้าของโครงการต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างจนถึงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ออกจากทางราชการแนบในข้อมูลการซื้อขายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นก่อน

“กรณีของแอชตันอโศกครั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าบรรดาผู้บริโภคกังวลว่าหลังจากนี้ต้องทำอย่างไรเพราะโดยปกติเอกสารที่ออกโดยราชการน่าจะเชื่อถือได้และหลังจากนี้จะเชื่อมั่นเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน”

ขณะที่ลูกบ้านของแอชตันฯที่ควักเงินซื้อมากถึง7-30ล้านบาทเพื่อเป็นเจ้าของห้องหรูและมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติอีกประมาณ20ประเทศโดยเฉพาะลูกบ้านที่ซื้อจากการกู้ธนาคารกระทบหนักสุดเพราะต้องรับภาระดอกเบี้ยขาขึ้นและไม่สามารถรีไฟแนนซ์ได้เนื่องจากโครงการอยู่ในคดีจึงไม่มีธนาคารแห่งไหนที่กล้ารับความเสี่ยงทำให้ต้องแบกรับต้นทุนดอกเบี้ยต่อไปและที่สำคัญไม่สามารถขายต่อได้อีกต่างหาก

ขณะเดียวกันยังกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติเพราะอย่าลืมว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ร่วมทุนกับมิตซุยฟูโดซังประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะมองเอกสารที่ออกโดยราชการไทยก่อนลงทุนแต่ในเมื่อเอกสารที่ออกจากราชการเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เชื่อได้ว่า…หลังจากนี้ต่างชาติจะมาลงทุนมาซื้ออสังหาฯไทยลดลง!!เพราะขาดความเชื่อมั่น!!และมองว่าหลังจากนี้บรรดาผู้พัฒนาอสังหาฯและภาคราชการไทยควรหารือหรือสังคายนากันให้ชัดเจนเพื่อหาทางออกของการออกเอกสารอย่างไร?เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเข้าอีก

ท้ายที่สุด!!โครงการแอชตันอโศกจะจบลงในรูปแบบใด?ถึงทางตันหรือไม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?แต่เชื่อได้ว่าปัญหานี้จะกลายเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่สะเทือนวงการอสังหาฯและสร้างบทเรียนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้พัฒนาผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนักลงทุนทั้งหลายรวมถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อหน่วยงานราชการไทย!!คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง